This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้สีทอง

การปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้สีทอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้สีทอง
"เกษตรกรที่คิดจะปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก ควรจะเลือกปลูกพันธุ์ น้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีสูงมาก ถึงแม้ว่าจะมีคำทำนายอนาคตว่า น้ำดอกไม้สีทอง จะล้นตลาด มาถึง ณ ปัจจุบัน มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณภาพดี กลับไม่พอส่งขายด้วยซ้ำไป ตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทยไม่ได้จำกัดอยู่ที่ญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว มีอีกหลายประเทศที่มีออเดอร์สั่งเข้ามา แต่หาผลผลิตส่งให้ไม่ได้"

เป็นคำพูดของ คุณมานพ แก้ววงษ์นุกูล ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าของสวนแก้ววงษ์นุกูล บ้านเลขที่ 56 หมู่ที่ 3 ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120 โทร. (038) 521-273, (089) 938-9097 จะต้องยอมรับกันว่าปัจจุบัน คุณมานพนับเป็นเกษตรกรผู้นำในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของไทยรายหนึ่ง ที่ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ได้คุณภาพและมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับจากตลาดต่างประเทศ คุณมานพบอกว่า ในการทำสวนมะม่วงแบบสมัยใหม่ไม่ง่ายอย่างที่คิด

ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ทำสวนมะม่วงมักจะไม่กล้าลงทุน เมื่อเกิดปัญหาการขาดทุนจะเกิดสภาวะ "กล้าๆ กลัวๆ " ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ผลตามมาเกษตรกรจะขาดการบำรุงรักษา มีการใส่ปุ๋ยและฉีดพ่นยาไม่เต็มที่ ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของต้นมะม่วงโดยตรง คุณมานพบอกว่าการทำการเกษตรจะต้องมีการลงทุนดูแลต้นมะม่วงให้สมบูรณ์ และได้สรุปสูตรสำเร็จในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกจากประสบการณ์ ดังนี้


ปุ๋ยคอก มีความสำคัญ

คุณมานพ บอกว่า เกษตรกรเจ้าของสวนมะม่วงจะต้องใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจำทุกปี จะใส่ช่วงต้นฤดูฝนหรือใส่หลังจากการตัดแต่งกิ่งเสร็จก็ได้ เนื่องจากปุ๋ยคอกจะถูกนำไปใช้ในระยะยาว เป็นพื้นฐานของความสมบูรณ์ของต้นมะม่วง ปุ๋ยคอกใช้ได้ทุกประเภท แต่ต้องพึงระวัง ก่อนนำมาใช้จะต้องผ่านการหมักให้เป็น "ปุ๋ยคอกเก่า " เสียก่อน สำหรับเกษตรกรหลายคนมักจะกังวลว่าใส่ปุ๋ยคอกไปแล้วมักจะเกิดปัญหาเชื้อราระบาดทำลายมะม่วงได้ง่าย อย่าไปกังวลมากเกินไป ขึ้นกับการบำรุงดูแลรักษามากกว่า

ปัจจุบัน สวนแก้ววงษ์นุกูลสั่งปุ๋ยหมักจากกรุงเทพฯ มีคุณสมบัติที่ดีคือ ราคาถูกแต่มีคุณภาพ ราคาเพียงตันละ 3,000 บาท (บริการส่งถึงที่) เนื้อปุ๋ยหมักจากกรุงเทพฯ มีความร่วนซุย เนื้อสีดำละเอียดผ่านขั้นตอนการเผาด้วยความร้อนสูงและหมักเป็นอย่างดีแล้ว นำมาใส่ให้กับต้นมะม่วงได้เลย ปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับเกษตรกรในขณะนี้ก็คือ มีปุ๋ยหมักอินทรีย์หลากหลายยี่ห้อที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายโดยเกษตรกรไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า มีสารอาหารแร่ธาตุอะไรบ้าง มีราคาขายค่อนข้างแพง เฉลี่ยตันละ 5,000-8,000 บาท คุณมานพบอกว่า เมื่อซื้อมาใส่ให้กับต้นมะม่วงกลับเป็นโทษก็มี


ปัญหาการปลูกมะม่วงในพื้นที่เช่า

ปัญหาในเรื่องพื้นที่เช่า (มีต้นมะม่วงปลูกอยู่แล้ว) ดินมักจะขาดความอุดมสมบูรณ์ ผู้เช่าไม่อยากจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีอย่างเต็มที่ เพราะคิดว่าไม่ใช่ที่ดินของตนเอง กลัวว่าผลประโยชน์จะตกไปอยู่กับเจ้าของเดิม ทำให้มีผลต่อการผลิตมะม่วงโดยตรง คุณมานพแนะนำให้ผู้เช่าและเจ้าของที่ดินตกลงสัญญาเช่าให้มีความแน่นอนว่าจะให้เช่าเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่



การทำผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

คุณมานพ บอกว่า ผิวมะม่วงส่วนใหญ่จะเสียหายเพราะเกิดจากการทำลายของโรคและแมลง โดยเฉพาะช่วงที่มีความสำคัญคือ ระยะดอกมะม่วงโรย แมลงศัตรูที่สำคัญคือ "เพลี้ยไฟ" ในระยะนี้เกษตรกรจะต้องเฝ้าดูการทำลายทุกวัน เผลอไม่ได้ เพลี้ยไฟจะเข้าทำลายในระยะดอกมะม่วงโรยมากที่สุด การป้องกันและกำจัดแนะนำให้ฉีดพ่น โปรวาโด อัตรา 2-3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจจะฉีดสลับด้วยสาร "มาลาไทออน" หรือ " เมทโธมิล" (เช่น แบนโจ) ข้อดีของสารป้องกันและกำจัด 2 ชนิดหลังดังกล่าว คุณมานพบอกว่าราคาไม่แพงนัก นอกจากจะควบคุมเพลี้ยไฟได้แล้วยังควบคุมหนอนได้ด้วย ที่สำคัญสารดังกล่าวญี่ปุ่นไม่ห้ามใช้และที่ผ่านมาเมื่อตรวจสอบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีปัญหาเพราะสลายตัวเร็ว

สำหรับโรคที่คุณมานพคิดว่า มีความสำคัญกลับไม่ใช่โรคแอนแทรกโนส แต่เป็นโรค "ราแป้ง" ที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว การระบาดของราแป้งลงช่อมะม่วงจะรวดเร็วมาก มีผลทำให้ไม่มีการติดผลเลย ปัจจุบันยังไม่พบสารป้องกันโรคพืชที่โดดเด่นเป็นพิเศษในการป้องกันและกำจัดโรคราแป้ง แนะนำให้ใช้สารซีสเทน-อี ฉีดพ่นสลับกับสารเบนโนมิล เช่น เมเจอร์เบน เป็นต้น


การตัดแต่งผลมะม่วงก่อนห่อ

คุณมานพได้เล่าประสบการณ์จากการไปดูงานการปลูกมะม่วงในประเทศไต้หวัน ที่ขึ้นชื่อถึงความประณีตในการทำการเกษตรประเทศหนึ่งในโลก ต้นมะม่วงที่ไต้หวันจะมีการควบคุมทรงพุ่มให้เตี้ยเพื่อปฏิบัติงานได้ง่าย และมีการคัดเลือกจำนวนผลมะม่วงต่อต้นก่อนที่จะห่อ ตัวอย่าง มะม่วง 100 ผล ที่ห่อจะคัดเลือกได้อย่างน้อย 80 ผล หรือ 80% ชาวสวนมะม่วงไทยควรจะนำเอามาเป็นแบบอย่างใช้กับการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของไทย คุณมานพแนะว่าน้ำดอกไม้สีทองบ้านเรา ถ้าติดผลช่อละ 3 ผล ควรคัดเลือกห่อเพียง 1 ผล เท่านั้น ที่ผ่านมาแต่ละช่อติดผลมากไม่มีการปลิดทิ้งเลยเมื่อเก็บเกี่ยวแทบจะเลือกมะม่วงส่งออกไม่ได้เลยแม้แต่ผลเดียว ข้อควรระวังในการห่อผลมะม่วงอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ก่อนที่จะห่อผลมะม่วงจะต้องเด็ดหรือตัดส่วนปลายก้านช่อดอกหรือที่ชาวสวนเรียกว่า "หนวดมะม่วง" ถ้าปล่อยทิ้งไว้ส่วนของหนวดจะทำให้ผิวมะม่วงเกิดตำหนิขึ้นได้ (เมื่ออยู่ในถุงห่อจะเกิดการเสียดสีภายในถุง)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้สีทอง

การเลือกใช้ถุงห่อผลมะม่วง

ความจริงการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จะช่วยรักษาผิวของผลมะม่วงได้ดีและสวยไร้ริ้วรอย ป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ โดยเฉพาะแมลงวันทอง และยังช่วยลดปริมาณของสารเคมีที่อาจจะฉีดพ่นถูกผลมะม่วงได้อีกด้วย ในการห่อผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองคุณมานพแนะนำให้เลือกห่อตั้งแต่ผลมีขนาด ประมาณ 2 นิ้วครึ่ง (ใหญ่กว่าไข่ไก่เล็กน้อย) โดยจะห่อนานประมาณ 40 วัน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ หรือถ้าห่อขนาดผล 3 นิ้ว จะห่อนานประมาณ 1 เดือน ซึ่งในขณะนั้นความแก่ของผลมะม่วงจะอยู่ที่ 75-80% แต่ถ้าห่อผลนานเกิน 45 วัน ขึ้นไป ผิวมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอ่อนออกขาวหรือที่ชาวสวนเรียกว่า "มะม่วงเผือก"

แต่เดิมการห่อผลมะม่วงจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มักจะเกิดปัญหาว่าหมึกพิมพ์จากกระดาษหนังสือพิมพ์ติดเลอะเทอะบนผิวมะม่วง ปัจจุบันมีทางเลือกในการใช้ถุงห่อแบบใหม่ คือการใช้ถุงคาร์บอนหรือมีการจำหน่ายอยู่หลายเกรด ราคาถูกแพงขึ้นอยู่กับคุณภาพของถุงห่อด้วย อย่างกรณีของถุงคาร์บอนห่อผลมะม่วงของ "ชุนฟง" ถึงแม้จะมีราคาสูงกว่ายี่ห้ออื่นบ้าง แต่ถุงทุกใบได้มาตรฐานและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว คุณมานพยังแนะนำว่าในการใช้ถุงคาร์บอนควรใช้เพียง 2 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว หลังจากนั้นให้เปลี่ยนถุงใหม่



"การเก็บเกี่ยวผลผลิต" ขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญยิ่ง

คุณมานพบอกว่า ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นขั้นตอนที่จะมีการเอาใจใส่ดูแลที่ดีไม่แพ้ช่วงที่ดูแลรักษาบนต้น เจ้าของสวนมะม่วงจะต้องฝึกฝนคนงานและปลูกฝังการทำงานในเรื่องของการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างระมัดระวังและมีความประณีต เพียงแค่แรงกระแทกหรือช้ำเพียงจุดเดียวก็ถือว่าตกเกรดทันทีสำหรับมะม่วงเพื่อการส่งออก

ขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวมะม่วงออกจากแปลงปลูกนั้น ถ้าเป็นจุดที่ใช้มือเอื้อมเด็ดถึง ก็ให้เด็ดผลอย่าให้ขั้วหักเป็นอันขาด ในการรับซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก ถ้าผลมะม่วงไม่มีขั้วผลติด ตลาดจะไม่รับซื้อ เมื่อขั้วมะม่วงหักยางมะม่วงจะไหลโดนผิวมะม่วงเป็นลายจะตกเกรดทันที ในจุดที่ผลมะม่วงอยู่สูงใช้มือเด็ดไม่ได้ให้ใช้ตะกร้อเก็บเกี่ยว ตะกร้อที่ดีจะต้องมีใบมีดติดเพื่อเกี่ยวขั้วมะม่วงให้ขาดได้เพียงครั้งเดียว การเก็บด้วยตะกร้อควรจะเก็บทีละผล

หลังจากเก็บผลมะม่วงลงมาจากต้นแล้วจะต้องนำไปใส่เข่งหรือตะกร้าที่วางอยู่ใต้ต้นมะม่วง ไม่ควรวางลงกับดิน ใส่ตะกร้าให้เต็มพอประมาณอย่าวางทับกันแน่นเกินไป เคลื่อนย้ายไปแกะถุงคาร์บอนในโรงคัดแยก ไม่แนะนำให้แกะถุงในแปลงปลูก (ถุงคาร์บอนมีส่วนช่วยลดการเสียดสีได้อีกทางหนึ่ง)



"ห้องเย็น" ความสำคัญในการผลิต

คุณมานพได้มีความพยายามมานานหลายปีที่จะให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จังหวัดฉะเชิงเทรา มีห้องเย็นเป็นของกลุ่ม แต่ก็มีเสียงคัดค้านมาตลอดว่า การนำห้องเย็นมาใช้กับมะม่วงจะไม่ประสบความสำเร็จ ในที่สุดทางกลุ่มก็ได้สร้างห้องเย็นด้วยงบประมาณ 1 ล้านบาท มีจำนวน 2 ห้อง แต่ละห้องมีขนาดความกว้าง 6 เมตร และความยาว 6 เมตร แต่ละห้องจะเก็บมะม่วงได้ประมาณ 10 ตัน

ห้องเย็นจะตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 13-16 องศาเซลเซียส เป็นช่วงอุณหภูมิที่ประหยัดไฟและเก็บรักษาคงสภาพความสดของผลมะม่วงได้นาน 7-15 วัน คุณมานพได้บอกถึงประโยชน์ของห้องเย็นคือ ช่วยในเรื่องของการจัดการผลผลิตมะม่วงได้ง่ายขึ้น ในช่วงที่ต้องเตรียมมะม่วงส่งออกหรือเก็บจำหน่ายในแต่ละครั้งผลผลิตอาจจะมีปริมาณมาก เช่น เก็บผลผลิตมาจำนวน 10 ตัน ในวันนั้น ในการปฏิบัติงานจริงจะทำไม่ทันหรือจะต้องทำแข่งขันกับเวลา (มะม่วงจะวางกองอยู่ในเข่ง คัดแยกออกมาไม่ทัน พบมะม่วงสุกคาเข่งก็มี) แต่ถ้าผลผลิตมะม่วงบางส่วนไปเก็บรอไว้ในห้องเย็นก่อนแล้วทยอยเอาออกมาแกะถุงห่อ คัดอย่างประณีตไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องเร่งคนงาน ส่งผลต่อคุณภาพของมะม่วง ห้องเย็นยังมีส่วนช่วยรอราคามะม่วงให้สูงขึ้นได้อีก คุณมานพบอกว่า ช่วงที่ผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองขาดตลาด ราคาซื้อ-ขายจะเปลี่ยนแปลงเกือบทุกวัน บางช่วงเก็บมะม่วงในห้องเย็นในราคา 30 บาท ต่อกิโลกรัม ช่วงเวลาไม่กี่วันขายได้กิโลกรัมละ 50 บาท ก็มี คุณมานพย้ำในตอนท้ายว่า ห้องเย็นราคา 1 ล้านบาท หลังนี้คืนทุนภายใน 1 ปี เท่านั้น

ที่มา http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=62426.0

การปลูกกล้วยหอมทอง

การปลูกกล้วยหอมทอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปลูกกล้วยหอมทอง
การปลูกกล้วยหอมทอง 
1. การเตรียมดินปลูกกล้วยหอมทอง กล้วยสามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ขอเพียงมีน้ำรดเมื่อพืชต้องการน้ำและสามารถระบายน้ำได้เมื่อถึงฤดูฝนที่มีน้ำเกินความต้องการของพืช
1) ที่นาควรยกร่องกว้าง 1 เมตร และปลูกบนหลังร่อง
2) ที่ไร่ สามารถปลูกได้เลยโดยไม่ต้องยกร่อง
ระยะปลูกที่แนะนำคือ 2x1.5 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 500 ต้น การไถตากดินก่อนปลูกจะช่วยกำจัดวัชพืชและเชื้อโรคในดิน การไถดะโดยใช้ผาน 3 ไถตากดินไว้ประมาณ 5-7 วันเป็นอย่างน้อย จากนั้นไถแปรโดยใช้ผาน 7 ก่อนทำการปลูกโดยขุดหลุมลึกประมาณ 20 เซนติเมตร ไม่ต้องใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเพราะจะทำให้เกิดรากเน่า
เมื่อรับหน่อมาแล้วควรปลูกทันที หากไม่พร้อมปลูกควรเก็บไว้ในร่ม และรดน้ำ หากจะเก็บหน่อไว้นานเกิน 3 วันควรนำหน่อปักชำไว้ในดิน โดยขุดหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร เอาบริเวณเหง้าของหน่อกล้วยลงไปประมาณครึ่งหัวแล้วกลบและรดน้ำวันละครั้งไม่ควรชำไว้นานเกิน 1 เดือน

2.การปลูกกล้วยหอมทอง จำแนกการปลูกออกเป็น 4 แบบคือ
1) การปลูกกล้วยหอมทองโดยการไถยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มลักษณะเป็นที่นามาก่อน โดยจะปลูกกล้วยบนร่องดังกล่าว
2) การปลูกกล้วยหอมทองโดยการไถยกร่องแต่ปลูกกล้วยในร่อง และให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไหลไปตามร่องที่ปลูกกล้วยเหมาสำหรับพื้นที่ราบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย
3) การปลูกกล้วยหอมทองโดยไม่ยกร่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ไร่ที่ไม่มีน้ำขังในฤดูฝน เช่นที่ราบ ที่เชิงเขา
4) การปลูกกล้วยหอมทองโดยการขุดร่องน้ำ เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำมีน้ำขังตลอดปี มีระบบชลประทานเพียงพอ และลักษณะดินเป็นดินเหนียว เพราะดินทรายอาจทำให้เกิดการพังทลายของร่องน้ำได้ง่าย

3. การรดน้ำ  กล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ และขาดน้ำไม่ได้ การให้น้ำควรสังเกตหน้าดิน เมื่อดินแห้งก็ควรรดน้ำ หากให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ หักล้มง่าย
ซึ่งระบบการให้น้ำพืช แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้
1) ระบบสปริงเกอร์....ดีที่สุด
2) ระบบน้ำท่วมร่อง(น้ำไหลไปตามร่อง)
3) ระบบน้ำหยด
4) ใช้เรือรดน้ำ
4. การจัดการดูแลกล้วยหอมทองตามอายุ
+++1 เดือน ตั้งแต่เริ่มปลูกกระทั่งอายุครบ 1 เดือนต้นกล้วยจะสูงประมา 30 เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยคอก ประมาณต้นละ 1 ถ้วยแกง หรือใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 ในอัตราต้นละ 1 กำมือร่วมด้วย และรดน้ำตามทันที ไม่ควรใส่ชิดโคนต้นมากเพราะอาจทำให้โคนเน่าได้
+++2 เดือน ในช่วงอายุนี้แปลงกล้วยจะเริ่มมีหญ้า ให้ทำการกำจัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดให้สั้น จากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 และรดน้ำตามทันที (ไม่ควรใช้ยากำจัดวัชพืช)
+++3 เดือน ให้สังเกตุต้นกล้วยหากพบใบเหลือง หรือใบเสียให้ตัดแต่งทิ้้ง โดยปกติจะเป็น 1-2 ใบล่าง ใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 2 ถ้วยแกงต่อ 1 ต้น โรยบริเวณโคนต้นให้ห่างจากต้นประมาณ 1 คืบ และปุ๋ยสูตร 25-7-7 ต้นละ 1 กำมือ
+++4 เดือน ให้สักเกตในแปลงหากมีหญ้า ให้ทำการกำจัดโดยใช้เครื่องตัดหญ้า ตัดให้สั้น หรือใช้ยาฆ่าหญ้าชนิดเผาไหมฉีดพ่นได้ แต่่ต้องระวังไม่ให้ละอองยาสัมผัสต้นและใบกล้วยจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 สูตรใดก็ได้ ประมาณ 1 กำมือ และรดน้ำตามทันที
+++5 เดือน ช่วงนี้กล้วยต้องการสะสมอาหารเพื่อนำไปสร้างปลี ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ผสมกับปุ๋ยสูตร 13-13-21 ต้นละ 1 กำมือ
+++6 เดือน เมื่อกล้วยอายุได้ 6 เดือนจะต้องทำการค้ำต้น การค้ำเป็นการช่วยพยุงลำต้นให้รับน้ำหนักเครือกล้วยได้ดี ไม่ให้หักก่อนถึงเวลาตัด โดยจะเริ่มสังเกตุเห็นกล้วยเริ่มตกเครือ มีปลีกล้วยโผล่ออกมาบริเวณยอด เมื่อลูกกล้วยเริ่มตั้งควรทำการห่อเครือกล้วยเพื่อให้กล้วยมีผิวสวย และทำการตัดปลีในวันเดียวกันที่ทำการห่อกล้วย ควรใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 หรือสูตร 13-13-21 ต้นละ 1 กำมือ
+++7 เดือน ผลกล้วยเริ่มใหญ่ขึ้น ควรเร่งขนาดผลกล้วยโดยใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ต้นละ 1 กำมือ
+++8 เดือน เป็นช่วงเริ่มการเก็บเกี่ยวผลผลิต สำหรับต้นที่่สมบูรณ์จะเริ่มตัดได้ก่อน ปริมาณจะมากน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น และจะทยอยตัดในเดือนต่อๆ ไปจนหมดแปลง
+++9 เดือน เป็นเดือนของการเก็บเกี่ยวผลผลิต (มากกว่า 50%) เกินครึ่งของกล้วยทั้งแปลงจะได้เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนนี้
+++10 เดือน ผลผลิตชุดสุดท้ายจะได้เก็บเกี่่ยวในช่วงนี้ (ประมาณ 10%) เพราะความสมบูรณ์ของต้น ความสม่ำเสมอของปุ๋ยและน้ำมีผลให้ต้นที่ได้รับการดูแลได้ไม่ดีพอให้ผลผลิตได้ล่าช้ากว่าปกติ

การเก็บเกี่ยงผลผลิต เมื่อกล้วยโตได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ กรรมวิธีการตัดกล้วยและจัดการกับผลผลิตกล้วยค่อนข้างสำคัญ จะได้ราคาดีหรือไม่ขึ้นอยู่ในช่วงนี้
1) การคัดเลือกเครือที่ต้องการ โดยสังเกตุจากลักษณะผลกล้วยทั้งเครือ
2) วิธีการตัดที่ถูกต้องและให้เกิดการบอบช้ำน้อยที่สุดเพื่อลดการสูญเสียผู้ตัดควรมีความรู้ความชำนาญ
3) กำลำเลียงขนย้ายผลผลิต ต้องให้ความสำคัญในการป้องริ้วรอยจากกันการกระทบ กระแทกและขีดข่วน

 ที่มา http://www.กล้วยหอมทองปทุม.com/15948306/วิธีการปลูกกล้วย

ปลูกปาล์ม ภาคอีสาน

ปลูกปาล์ม ภาคอีสาน


การปลูกทุเรียน

การปลูกทุเรียน 


ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์

ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์


มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แล้วไม่ต้องดูแลมากนัก เรียกว่าทนแล้ง ทนฝนได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในพื้นที่ที่แห้งแล้งมากๆ ธรรมชาติของมะขาม จะมีความแข็งแรงทนทานมาก มะขามเปรี้ยวจะเริ่มสลัดใบในช่วง มีนาคม-เมษายน ในช่วงหน้าร้อนยิ่งแล้งก็ยิ่งร่วง แต่หลังจากที่รับน้ำในต้นฤดูฝน มะขามเปรี้ยวก็จะแตกใบอ่อน และในการแตกใบอ่อนก็จะออกดอกติดฝัก มะขามจะออกดอกหลายชุดใน 1 ปี แต่ในหนึ่งชุดนั้นจะมีหลายชุดประมาณ 10-20 ชุด ชุดแรก จะออกในช่วงต้นฝนประมาณพฤษภาคมแต่ก็ยังติดฝักไม่มากนัก บางครั้งเจอลมฝนนิดหน่อยก็อาจจะร่วงไปเสียส่วนใหญ่ ชุดที่สอง จะเริ่มติดมากขึ้นในแต่ละรุ่น การสุกก็จะอยู่ไล่เลี่ยกัน ใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงฝักแก่ ประมาณ 3-4 เดือน ถ้าจะเก็บฝักดิบในการนำไปแช่อิ่ม ให้เก็บช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ชุดแรกฝักแก่ประมาณธันวาคม แล้วก็ไล่ไปเรื่อยจนถึงชุดสุดท้าย อาจเก็บฝักแก่ประมาณมีนาคม ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ พันธุ์ฝักใหญ่ เป็นไม้ผลไม้ยืนต้น ที่ให้ผลผลิตในระยะยาว ปลูกและดูแลง่าย หลังจากปลูกไปแล้ว 3 ปีก็จะติดฝักให้ผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความสมบูรณ์และอายุของต้น การปลูกก็ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน ระยะปลูกประมาณ 8×8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 25 ต้น ซึ่งลักษณะต้นจะเป็นทรงพุ่มเตี้ย เมื่อติดดอก ออกฝักจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเป็นฝักดาบ น้ำหนักฝัก ฝักดิบ 3-4 ฝักต่อ 1 กก. ฝักสุก 14-18 ฝักต่อ 1 กก. น้ำหนักเนื้อมะขามเมื่อแกะเปลือกและเมล็ดแล้ว หนัก 700-750 กรัมต่อมะขามสุก 1 กก. ความเปรี้ยวจัดว่าเปรี้ยวกว่ามะขามบ้านธรรมดา 2-3 เท่าโดยประมาณ วิธีจะดูว่าฝักมะขามจะเก็บได้หรือยังในฝักแก่หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า มะขามกอก เราจะสังเกตจากสีของเปลือกมะขามจะมีสีน้ำตาลนวลๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลเหลือง เวลาสุกให้ใช้นิ้วดีดเบาๆ จะมีเสียงออกกลวงๆ แต่ถ้ายังไม่สุกเสียงในการดีดฝักจะออกแน่นๆ ในฝักที่สุกแล้วใช้นิ้วขูดที่ผิวของฝักจะไม่เป็นริ้วรอย เนื้อจะแห้งยุบตัวแยกออกจากเปลือก

โรคของมะขามเปรี้ยวยักษ์ ที่อาจจะเกิดคือโรคของแมลงรบกวนมากัดกินใบอ่อนบ้างแต่ไม่มาก ส่วนอีกโรคคือโรคราแป้งขาว จะเกิดเชื้อระบาดรุนแรง ในสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง ซึ่งจะทำให้ต้นมะขามโทรม ถ้าเป็นในช่วงออกดอกติดฝักจะทำให้ลดจำนวนลง มักเกิดในช่วงปลายฝนเราสามารถใช้กำมะถันผงฉีดพ่นช่วงเย็นๆ ประมาณ 1-2 ครั้ง ราแป้งก็จะหายไป 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปลูกมะขามเปรี้ยว

วิธีการปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ ให้ได้ผลดี การปลูกมะขามเปรี๊ยวจะใช้ระยะ 8×8 – 10×10 เมตร หรือ 5×5 วา ไร่หนึ่งปลูก 16-25 ต้นต่อไร่ เพราะมะขามเป็นไม้ผลไผลที่เก็บกินได้ระยะยาวเป็นร้อยปี ถ้าปลูกชิดมากจะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี๊ยว เพราะมะขามเปรี๊ยวจะชอบแดดจัด น้ำน้อย ถ้าปลูกที่ร่มมะขามจะไม่โต ไม่ติดฝักให้ และถ้าบำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยมากเกินไปก็จะไม่ติดฝัก ต้นจะสวยแต่ใบ

เตรียมหลุมปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ กันดีกว่า หากดินแข็งให้ขุดหน้าดินกว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร หาเศษหญ้าปุ๋ยคอก (ขี้วัว) รองก้นหลุม ถ้าดินในที่นั้นแห้งแล้งน้ำน้อยใช้กากมะพร้าวชิ้นใหญ่ ลงไปที่ก้นหลุมกลบดินตามเดิม แล้วขุดดินมา 1 หน้าจอบ และนำต้นพันธ์มะขามเปรี๊ยวยักษ์ ลงปลูกในระดับดินอยู่ใต้ผ้าทาบ 1 อาทิตย์ หลังจากลงปลูกจึงกรีดผ้าทาบออก ต้องหาไม้มาช่วยค้ำต้นกันลมโยกต้น รดน้ำวันละครั้งในช่วงแรก หลังจากนั้นให้ทิ้งช่วงประมาณ 6 เดือน หรือ 2 อาทิตย์ต่อครั้งหากเร่งต้นให้โต จากนั้นให้ใส่ปุ๋ยคอกอัตราส่วน 100 – 200 กรัมต่อ 1 ต้น ในปีแรกแบ่งเป็น 2 ครั้ง คือ 6 เดือนต่อครั้ง สำหรับปีต่อไปจำนวน 200 – 300 กรัมตามลำดับ และปีต่อไปให้เพิ่มปุ๋ยมากขึ้นตามทรงพุ่มของต้น 

การดูแลรักษาต้นมะขาม ดูแลเหมือนไม้ผลทั่วไป หลังจากปีที่ 2 และขึ้นปีที่ 3 ถ้าอยากให้มะขามติดฝัก ควรหยุดน้ำหยุดปุ๋ย ให้ต้นสลัดใบในช่วงหน้าร้อน พอต้นฝน ฝนตกลงมามะขามก็จะแตกใบอ่อนและดอกจะติดฝักให้ หลังจากออกดอกติดฝักให้บำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยและเด็ดฝักฝักอ่อนทิ้งบ้างหากได้ฝักเยอะเกินจำเป็น เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้ เนื่องจากเมื่อมะขามติดฝักแล้ว ต้นจะเริ่มโตช้าลงเพราะมะขามจะนำอาหารไปเลี้ยงฝักหมด 

การใส่ปุ๋ยต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ เมื่อมะขามให้ฝักควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้งจะช่วยให้ฝักใหญ่ได้น้ำหนักมาก และให้น้ำในระยะปลูกใหม่ไม่ขาด ถ้าฝนไม่ตกเพิ่ม ต้องรดน้ำ 1-2 ครั้ง/วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพดิน หรือประมาณ 1 สัปดาห์ต่อครั้ง) จนกว่ามะขามยักษ์จะเริ่มเป็นจากนั้นทิ้งให้ห่างประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง
ตลาดมะขามเปรี้ยวยักษ์ ทางด้านการตลาดนั้น น่าสนใจ เพราะมะขามเปรี้ยวยักษ์จัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่แพ้พืชหลักอื่น เนื่องจากตลาดมีความต้องการเป็นจำนวนมากราคามะขามเปรี้ยวแกะเมล็ดแล้วจะมีราคากิโลกรัมละ 20-40 บาท มะขามฝักใหญ่แบบสดจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-20 บาท มะขามเปรี้ยวเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร ยา และเครื่องใช้ในครัวเรือน และยังทำเป็นในรูปอุตสาหกรรมได้อีก เช่นโรงงานน้ำพริก เครื่องปรุงน้ำพริกมะขามเปียกสำเร็จรูป สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ เครื่องสำอาง ไวน์ แยม ซอสมะขาม ลูกอม เครื่องดื่ม ชามะขาม เยลลี่ ยาระบาย ยาลูกกกลอน ฯลฯ ตลาดสำหรับมะขามเปรี้ยวถือว่ากว้างมากเหมาะสำหรับเป็นไม้ผลในการแปรรูปเป็นระบบอุตสาหกรรม และยังมีตลาดสำหรับการส่งออกอีก ทางด้านผู้รับซื้อ มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ เพื่อไป ทำมะขามเปียก เนื่องจากน้ำหนักหายไปเยอะ หลังจาแกะเปลือกและเมล็ดออกแล้ว น้ำหนักจะหายไปประมาณ 60-70% จากราคาที่รับซื้อกันก็ไม่เกิน 20 บาท หักค่าใช่จ่ายแล้วราคาที่เกษตรกรได้จริงที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม และถ้าน้ำหนักฝักแห้งต่อต้นอยู่ที่ 500 กก. หลังแกะแล้วน้ำหนักหายไป 70% ก็จะได้อยู่ที่ต้นละ 150 กก x 10 บาท เท่ากับขายได้ต้นละ 1,500 บาท โดยประมาณ สำหรับมะขามเปียก ถ้าคิดที่ราคากลางก็จะได้ 150 กก. x 40 บาท เท่ากับต้นละ 6,000 บาท ถ้าเป็นมะขามสด ต่อต้นอยู่ที่ 500-1,000 กก. คิดที่ 700 กก แล้วกัน น้ำหนักไม่หาย x โลละ 7-8 บาท เท่ากับขายได้ต้นละ 4,900 – 5,600 บาท

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปลูกมะขามเปรี้ยว

ราคามะขามเปียก ตลาดไท โดยมะขามเปียกแกะเม็ด(มีก้าน) กิโลกรัมละ 35 – 40 บาท มะขามเปียกแกะเม็ด (ไม่มีก้าน) กิโลกรัมละ 40 – 45 บาท และมะขามเปียกมีเม็ด กิโลกรัมลา 18 – 20 บาท (ราคาล่าสุด ณ 6 มิถุนายน 2556) ปัญหาสำคัญของเกษตรคือ ราคาขายไม่ได้กำไรมาก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปลูกมะขามเปรี้ยว
เกษตรกรสามารถแปรรูปมะขามเปรี้ยวเพื่อจำหน่ายอีกทางหนึ่ง เนื่องจากมะขามเปียกจะถูกซื้อเข้าห้องเย็นในราคาถูกช่วงที่ผลผลิตออกมามากๆ และจะถูกกักตุนไว้ช่วงมะขามขาดตลาดก็จะนำออกมาขายในราคาที่สูงขึ้นกว่าเท่าตัวหรือมากกว่า เพราะมะขามเปียกถ้าแช่เย็นจะอยู่ได้เป็นปี แต่ผลผลิตที่ออกจากไร่จะมีแค่ปีละครั้งเท่านั้น รายจ่ายที่เป็นต้นทุนค่าดูแลไม่มาก แต่หากมีผลผลิตมักต้องจ้างแรงงานเพื่อทำการคัดแยกและแปรสภาพตามความต้องการ อาจมีต้นทุนที่สูงตามจำนวนผลผลิตที่ได้ แหล่งเรียนรู้การปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ ที่สวน วิรัตน์ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา แหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับผู้ที่รักการเษตรและรักธรรมชาติ โทร.081-929-6124 ไร่มะขามเปรี้ยวยักษ์ คุณ ชุมพล ต.ทัพหลวง อ.เมือง จ. นครปฐม โทร.081-297-1250

อ้างอิงข้อมูล : talaadthai.com / kasetporpeang.com / glamdring.baac.or.th