ปัจจัยหลักของการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่
ในขณะที่ตู้ทำงานจะต้องมีการไหลเวียนของอากาศด้วยความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 7 - 8 ฟุตต่อวินาที ภายในตู้ตลอดเวลา และจะต้องครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ภายในตู้ ขณะเดียวกันตัวตู้ฟักจะต้องมีการถ่ายเทอากาศ โดยรับออกซิเจน จากภายนอกตู้เข้าสู่ภายใน พร้อมทั้งผสมอากาศที่รับมาใหม่เข้ากับอากาศที่มีอยู่เดิม และขับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่ภายนอกตัวตู้ฟักอย่างมีระบบ สม่ำเสมอ และมีปริมาณที่เหมาะสม อุปกรณ์หลักที่จะทำหน้าที่นี้คือพัดลมไฟฟ้า และช่องดูด ช่องระบายอากาศ
2. อุณหภูมิภายใน
อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการฟักไข่อยู่ที่ระดับ 37.8 องศาเซลเซียส สำหรับการฟัก และ 36.7 องศาเซลเซียส สำหรับการเกิด อุณหภูมิภายในตู้ฟักไข่จะต้องกระจายอย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในระบบนี้คือ ชุดควบคุมการทำความร้อน หรือที่เราเรียกกันว่า เทอร์โมสตัท และตัวทำความร้อน หรือฮีทเตอร์ ซึ่งตัวทำความร้อนนั้นจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของตู้ฟักด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้อุณหภูมิที่ได้มีความคลาดเคลื่อน
** ขนาดของตัวทำความร้อนต่อปริมาตรภายในของตู้ ควรมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 249 ถึง 299 วัตต์ต่อลูกบาศก์เมตร **
3. ความชื้นสัมพัทธ์
3.1 สำหรับการฟัก ความชื้นที่เหมาะสมจะอยู่ที่ระดับ 58 - 60%
3.2 สำหรับการเกิด ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ที่ระดับ 60 - 63%
ความชื้นภายในตู้ จะต้องกระจายอย่างทั่วถึง
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดความชื้นคือถาดน้ำและการควบคุมระดับความชื้นสามารถปรับได้ด้วยช่องดูด
- ช่องระบายอากาศ
- ถ้าปริมาณน้ำในตู้มาก ความชื้นจะสูงขึ้น
ถ้าปริมาณน้ำน้อยความชื้นจะลดลง
โดยความชื้นจะแปรผันตามปริมาณน้ำและอุณหภูมิแต่จะแปรผกผันกับปริมาณอากาศเข้า-ออก
- ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นจะเพิ่มขึ้น
และเมื่ออุณหภูมิลดความชื้นจะลดลงตามไปด้วย ถ้าอากาศเข้า - ออกน้อย
ความชื้นจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอากาศเข้า - ออกมาก ความชื้นจะปรับตัวลดลง
4. การกลับไข่ไข่ไก่ที่ฟักตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 18 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการกลับไข่หรือพลิกไข่ ทุก ๆ 1 - 2 ชั่วโมง อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 7 ครั้ง เพื่อให้กระบวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ เนื้อเยื่อไม่ติดที่ผนังไข่ และทำให้ใกล้เคียงกับการฟักตามธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในวันที่ 18 ถึงวันที่ 21 ต้องนำไข่ฟักไว้ในถาดเกิด ช่วงระยะเวลานี้จะไม่มีการกลับไข่ เนื่องจากตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นช่วงที่ตัวอ่อนต้องการความนิ่งในการหาตำแหน่งเพื่อเจาะเปลือกไข่ โดยใช้กำลังจากเล็บเท้ารวมถึงปลายปากเจาะเปลือกไข่ แล้วจึงดันตัวออกจากเปลือกไข่ โดยตู้ฟักที่ดี ควรจะมีการพลิกไข่แบบอัตโนมัติ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น