This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การปลูกตะไคร้

การปลูกตะไคร้

       ตะไคร้ เป็น พืชพื้นบ้านที่มีประโยชน์หลายอย่าง ได้ทั้งทำอาหาร เครื่องดื่มเป็นยารักษาโรค และไล่แมลง ตะไคร้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ  ปัจจุบันตะไคร้ในตลาดยังไม่เพียงพอที่จะป้อนเข้าโรงงาน และในตลาดสดตะไคร้ก็ยังเป็นที่ต้องการของแม่บ้าน และผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ อยู่

การลงทุนปลูกตะไคร้

      การ ปลูกตะไคร้ไม่ต้องลงทุนมาก ตอนแรกลงทุนต้นพันธุ์ตะไคร้โดยต้นพันธุ์สามารถซื้อตะไคร้ที่เขาขายตามตลาดมา ก็ได้ นำมาแช่น้ำให้รากออก (ใช้เวลาประมาณ 3 วัน) แล้วนำลงปลูก ไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกเพราะสามารถตัดได้ตลอด

 เทคนิคการปลูกตะไคร้

  1. การเตรียมดิน ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย ให้ไถพลิกดินและไถพรวนลึกประมาณ 0.5 เมตร แล้วทำหลุม แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 0.5 เมตร
  2. ลงต้นพันธุ์หลุมละ 3 ต้น กลบดินพอมิดรากตะไคร้สัก 10 เซนติเมตร
  3. ปลูก ใหม่ให้รดน้ำทุกวัน แต่ระวังอย่าให้น้ำเข้าไส้ตะไคร้เวลาลดให้ลดทีโคนต้นตะไคร้เท่านั้น มิฉะนั้นต้นตะไคร้จะเน่าห้ามใช้สปริงเกอร์เป็นอันขาด ให้น้ำที่โคนกกเท่านั้น
  4. ในช่วง 3 วันแรกที่ปลูกให้พลางแสงแดดให้ตะไคร้ด้วยมู่ลี่ จากนั้นก็เอาออกซะเพราะตะไคร้ปรับตัวได้แล้วและธรรมชาติของตะไคร้ชอบแดด เจริญเติบโตได้เพราะมีแสงจ้า
  5. เมื่อผ่านไป 1 เดือนตะไคร้จะเริ่มตั้งกอ ให้สักเกตที่ต้น ถ้าต้นเจริญเติบโตดี (ลำต้นที่ใช้ได้สามารถตัดไปขายได้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร) ตัดตะไคร้ให้ติดกก แต่อย่าให้สะเทือนรากที่อยู่ในดินเพราะตะไคร้สามารถแตกขึ้นมาตั้งกอได้อีก หลังตัดไม่ต้องหาต้นพันธุ์มาปลูกใหม่
  6. เมื่อตัดควรตัดให้หมดกอ เพื่อต้นตะไคร้ที่แตกใหม่จะได้เติบโตได้เต็มที่
  7. หลัง จากตัดแล้วตะไคร้จะตั้งกอใหม่ภายในเวลา 1-2 เดือนเมื่อตะไคร้โตเต็มที่แล้วก็สามารถตัดได้อีกเรื่อยไปจนกว่าต้นจะโทรม หรือ ตะไคร้ไม่แตกขึ้นมาอีก

การตกแต่งตะไคร้เพื่อส่งขาย..

ตะไคร้เมื่อ ตัดมาแล้วใบจะยาวและมีก้านสีน้ำตาลแห้ง ๆ ติดมาด้วยให้ตัดก้านใบที่แห้งออกให้หมด รวมถึงต้องลอกก้านใบที่อ้าออกมาด้วยให้เหลือแต่ต้นกลม ๆ ใบก็ตัดออกครึ่งหนึ่งถ้าตัดแล้วยังไม่ขายสามารถแช่น้ำไว้ได้โดยตั้งต้น ตะไคร้ให้ตรงในภาชนะทรงกระบอก ใส่น้ำพอท่วมกกตะไคร้ตะไคร้จะอยู่ได้ประมาณ 1-2 วันแล้วจึจะแตกราก ถ้าแตกรากแล้วขายไม่ได้ เก็บไว้ทำพันธุ์ขยายปลูกต่อไป


ปลูกตะไคร้ขายดีอย่างไร?

  1. ตะไคร้เป็นพืชโตเร็ว เพียงแค่ 1-2 เดือนก็สามารถตัดขายได้แล้ว
  2. ขยายพันธุ์ง่าย ซื้อต้นพันธุ์แค่ครั้งแรก สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดไป
  3. ตะไคร้เป็นพืชที่มีโรคน้อย ศัตรูพืชก็ไม่มี จึงไม่ต้องกังวลเรื่องดูแล เพียงแค่ดูแลวัชพืชที่แปลงปลูกเล็กน้อย
  4. เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ให้น้ำ 2 วันครั้งก็ได้
 ที่มา http://kasettakonthai.blogspot.com/2015/01/blog-post_31.html

การปลูกข่าเหลือง

การปลูกข่าเหลือง


      ข่าเหลือง เป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องเทศ ข่าเหลืองเป็นพืชที่มีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมากด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างจากข่าทั่ว ๆไปคือ ข่าเหลืองจะมีกลิ่นและรสชาติแรงและหอมมากกว่าข่าชนิดอื่น โดยเราจะสามารถสังเกตได้ถึงความแตกต่างของข่าเหลืองและข่าชนิดอื่นได้จากเนื้อของข่า ซึ่งข่าเหลืองจะมีเนื้อเป็นสีเหลืองเด่นชัดให้สามารถสังเกตได้ง่าย
ข่าเหลือง เป็นพืชที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบอะไรยุ่งยาก เนื่องจากข่าเหลืองไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากเหมือนกับพืชชนิดอื่น ปัญหาศัตรูพืชก็ไม่มีมารบกวนเช่นกัน สิ่งที่ควรระวังก็คือเรื่องของพื้นที่ปลูกที่ไม่ควรมีน้ำขังเป็นเวลานาน และควรมีการระบายน้ำที่ดี

      ข่าเหลือง เป็นพืชที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบอะไรยุ่งยาก เนื่องจากข่าเหลืองไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มากเหมือนกับพืชชนิดอื่น ปัญหาศัตรูพืชก็ไม่มีมารบกวนเช่นกัน สิ่งที่ควรระวังก็คือเรื่องของพื้นที่ปลูกที่ไม่ควรมีน้ำขังเป็นเวลานาน และควรมีการระบายน้ำที่ดี

เริ่มต้นปลูกข่าเหลือง

       การเริ่มต้นปลูกข่าเหลืองจะต้องลงทุนประมาณ15,000 – 20,000 บาทเพื่อซื้อต้นพันธุ์ ซึ่งจะต้องใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 1,500 – 2,000 กก.ต่อไร่ แม้จะมีการลงทุนที่สูงแต่เป็นเพียงการลงทุนเพียงครั้งเดียวหลังจากนั้นก็สามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานถึง 10 ปีเลยทีเดียว
       เมื่อได้เหง้าพันธ์ข่าเหลืองก็นำมาแช่สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราและจากนั้นก็นำเหง้าพันธ์ข่าเหลืองมาตากผึงลมในที่ร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก หลังจากนั้นก็นำเหง้าพันธ์มาห่อด้วยผ้า โดยก่อนที่จะนำผ้ามาห่อเหง้าพันธุ์นั้นเราควรเลือกผ้าที่มีความหนาและอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ้าตามที่ต้องการแล้วก็นำไปชุบน้ำก่อนจะนำมาห่อเหง้าพันธ์ที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นก็ค่อยรดน้ำให้ผ้าชุ่มน้ำอยู่เสมอ ประมาณ10-20 วัน รากจะงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป
       โดยระยะการปลูกข่าเหลืองจะแบ่งได้ดังนี้ 1 ไร่จะสามารถปลูกได้ประมาณ 4,500-5,000 กอโดยปลูกเป็นแถวระยะ 80×80 เซนติเมตร ซึ่งตกแล้วเท่ากับเหง้าพันธุ์ 1 กก. ต่อ 3 หลุม โดยการปลูกข่าเหลืองเราควรที่จะเตรียมหลุมปลูกก่อนเสมอ ด้วยการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 พร้อมด้วยปูนขาวประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ไว้ลองก้นหลุมหลังจากปลูกเสร็จแล้วเราควรมั่นที่จะดูความสะอาดบริเวณแปลงปลูกโดยค่อยกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ


       ระหว่างการปลูกเราควรที่จะใช้ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 บริเวณโคนต้นอย่างสม่ำเสมอ หรือประมาณเดือนละ 2 ครั้ง เมื่อข่าเหลืองมีอายุได้ 7 เดือนก็ถึงช่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว แต่ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวหรือขุดข่าเหลืองออกมาขายนั้นเราควรว่างแผนด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 ก่อนขุดข่าเหลืองซักประมาณ15 วัน – 1 เดือนเพื่อกระตุ้นให้หน่อมีความสมบูรณ์ อวบใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งถ้ามีการจัดการดูแลใส่ปุ๋ยและค่อยดูแลเรื่องระบบน้ำไม่ให้น้ำขังที่โคน กอข่าเหลืองก็จะได้ข่าเหลือง 1 กอที่ให้ผลผลิตประมาณ2 ถึง 3 กิโลกรัม โดยราคาจำหน่ายก็ประมาณ 60 บาทต่อกอ ถ้าคำนวณโดยหักค่าใช้จ่ายแล้วผู้ปลูกก็จะมีรายได้ประมาณ 150,000-200,000 บาท/ไร่ เลยทีเดียว
       ระหว่างการเก็บเกี่ยวเราควรที่จะเหลือเหง้าพันธ์ข่าเหลืองไว้ประมาณ3 ถึง 4 แง่ง ต่อ 1 กอ เพื่อให้เป็นต้นพันธุ์ต่อไป ทำให้การปลูกข่าเหลืองจะมีการลงทุนเพียงครั้งเดียว ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้เป็น 10 ปี ทั้งนี้ทั้งนั้นเราควรที่จะบำรุงดินอย่างสม่ำเสอมด้วยการใช้ปุ๋ยคอกปุ๋มหมักมาปรับสภาพดินควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยสูตรด้วยเช่นกัน


ที่มา http://www.thaiarcheep.com/

การปลูกแก้วมังกรในกระถาง

การปลูกแก้วมังกรในกระถาง

วัสดุ – อุปกรณ์ ที่ต้องเตรียม

      1. ท่อน้ำทิ้งข้างในกลวง หน้ากว้าง 4 นิ้ว ยาว 1.3เมตร หรือ เสาไม้ก็ได้
      2. กระถางหน้ากว้าง 50 เซนติเมตร
      3. ค้างต้านบนอาจทำจากไม้หรือปูนเป็นรูป 4 เหลี่ยมจตุรัส กว้าง x ยาว 30 เซนติเมตร
      4.ขุยมะพร้าว
      5. ดิน
      6. เชือกฟาง

 วิธีปลูก

       1. ใส่ขุยมะพร้าวรองก้นกระถาง เพื่อให้น้ำถ่ายเทได้ดีในอัตราส่วน 1 ใน 3 ของปริมาณกระถางจากน้ันนำดินสำเร็จรูป ผสมกับขุยมะพร้าวหรือแกลบดำ ใส่ลงไปในกระถางจนถึงขอบกระถาง
       2. นำแก้วมังกรมาปลูกให้ชิดกับเสา แล้วนำเชือกฟางมามัดต้นแก้วมังกรให้ติดกับเสา ไม่ต้องมัดให้แน่นมาก ควรผูกเชือกไว้จนกว่าต้นแก้วมังกรจะเจริญเติบโต จนพ้นหัวเสา
3.จากน้ันนำดินมากลบด้านบนของกระถาง เป็นอันเสร็จ ต้นมังกรเป็นสามเหลี่ยม แต่จะมีด้านหนึ่งเป็นด้านแบน ดังน้ันเวลาปลูกต้นแก้วมังกร ให้จับด้านบนของต้นเข้ากับหลัก เพราะว่าด้านแบบจะเป็นด้านที่ออกราก

การดูแลแก้วมังกรในกระถาง

      1. การรดน้ำให้รดเพียง 1 คร้ังภายใน 2 – 3 วัน และไม่ควรรดมากจนเกินไปเพราะอาจเกิดโรคเน่าได้
      2. การให้ปุ๋ย ควรใส่ทุก 15 วัน ใส่ครั้งละ 2 – 4 ช้อนโต๊ะ สูตรที่ใช้ 15-15-15 หรือ 16-16-16 หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำ ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน วันละ 1 ครั้งเช้าหรือเย็นก็ได้ ถ้ามีปุ๋ยคอก มูลไก่ หรือ มูลวัวก็ใช้ได้เช่นกัน ให้ใส่เดือนละ 1 คร้ัง เมื่อปลูกได้เป็นเวลา 6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ย 8 – 24-24 ผสมกับ 15-15-15 ในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่ง

ผลผลิต

     เมื่อแก้วมังกร 8 เดือน – 1 ปี ก็เริ่มให้ผลผลิต 30 ผลต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 2 ประมาณ 50 ผลต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 3 100 – 200 ผลต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 4 – 15 300 ผลต่อหนึ่งค้างขึ้นไป ขนาดของผล ประมาณ 3 – 4 ผลต่อหนึ่งกิโลกรัม


ที่มา http://www.ipclub.ws/994

การปลูกแก้วมังกร

การปลูกแก้วมังกร 


พันธุ์

      1.เวียตนาม เนื้อขาว
      2.ไต้หวัน เนื้อแดง เบอร์ 4 , เบอร์ 5
      3.แดงสยาม เนื้อแดง
      4.ไทยดอกบัว เนื้อขาว

ระยะปลูก

      ระยะ 3.00 x 3.00 เมตร จำนวน 177 ต้น/ไร่
      ระยะ 3.00 x 2.50 เมตร จำนวน 213 ต้น/ไร่

วิธีการปลูก

      -กำหนด ระยะปลูก
      -ฝังเสาท่อใยหินเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว หรือเสาปูน ขนาด 4X4 นิ้ว ยาว 2 เมตร
      -ขุดหลุม ฝังเสาลึก 50-60 เซนติเมตร
      -ด้านบนเสาใช้เหล็กขนาด 3 หุน เสียบรูปกากบาท วางทับด้วยยาง รถจักรยานยนต์เก่า เพื่อทำเป็นร้านให้แก้วมังกรยึดเกาะ
      -ใช้ท่อนพันธุ์แก้วมังกรยาว 50 ซ.ม. ปักชำในแปลงเพาะ 2 เดือน ก่อนปลูก
      -ปลูกท่อนพันธุ์ข้างเสา เสาละ 3 ต้น
      -ปลูกพืชแซมแก้วมังกร ในระยะปีแรก เช่น แตงกวา พริก ฟักทอง


ฤดูปลูก

      -ควรปลูกฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม
      -สัปดาห์แรก ลดน้ำ 3 วันต่อครั้ง สัปดาห์ที่ 2-3 ลดน้ำ 7 วันต่อครั้ง

การดูแลรักษา

      -หลังปลูก 1 เดือน โรยด้วยมูลสัตว์หรือปุ๋ยอินทรีย์ หลุมละ 1 กิโลกรัม
      -อายุ 3 เดือน ใส่มูลสัตว์หรือปุ๋ยอินทรีย์ หลุมละ 2 กิโลกรัม
      -อายุ 8 เดือน แก้วมังกรติดดอก รุ่นแรก
      -บำรุงด้วย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ประมาณ 1 กำมือต่อต้น (10 ช้อนแกง/ต้น)
      -หลังจากติดลูก 20-30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือต่อต้น

การให้น้ำ

      -แก้วมังกรเริ่มออกดอก ประมาณเมษายน พฤษภาคม ไม่ต้องให้น้ำ
      -ควรให้น้ำช่วง มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ให้น้ำ 10 วันต่อครั้ง

ระยะดอกบาน

      -ดอกบานรอรับการผสมพันธุ์ ประมาณ 1 ทุ่ม ถึง 8 โมงเช้า
      -ดอกบาน กลิ่นหอม เย็น สวยงาม ประมาณ 3 วัน

การเก็บเกี่ยว

      -หลังจากออกดอก (เริ่มเป็นตุ่ม) เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 50-55 วัน
      -แก้วมังกรสามารถออกดอกได้ 22 ครั้งต่อปี เมื่อแก้วมังกรอายุ 2-3 ปี

ผลผลิต

      -ผลผลิต ประมาณ 50 กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออายุได้ 2-3 ปี

การตัดแต่ง

      -ควรตัดแต่งเมื่อ ปีที่ 3
      -ตัดกิ่งก้านที่ให้ลูกแล้ว ในปีที่ 1
      -ตัดกิ่งเก่า เหลือประมาณ 20 เซนติเมตร
      -ตัดแต่งกิ่งประมาณเดือนธันวาคม หลังเก็บเกี่ยว ของทุกปี อายุต้นแก้วมังกร -อายุ 15-20 ปี

ศัตรูแก้วมังกร

      -มดง่าม และ มดคันไฟ  กำจัดด้วย เซฟวิ่น 85 % 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมยากำจัดเชื้อรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร







การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้

การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้


วัสดุอุปกรณ์

       - เชื้อเห็ดขอนขาว

       - ท่อนไม้ ที่ตัดออกจากต้นไม่เกิน 10 วัน

       - พลาสติกใส

       - สว่าน

       - เลื่อย

       - ปูนซีเมนต์ น้ำสำหรับผสมปูน

       - ตาข่ายพรางแสงสีดำ

วิธีดำเนินการและการดูแลรักษา

        1. หาขอนไม้ขนาดไม่ใหญ่ เล็ก เห็ดจะเกิดง่ายกว่า (เค้าว่างั้น) แต่ขอนไม้ขนาดใหญ่จะเพาะเห็ดได้นานกว่า ขอนไม้ที่ใช้และน่าจะหาได้ง่าย ก็ ไม้มะม่วง ไม้เต็ง (อันนี้น่าจะยาก) ขอนไม้ที่นำมาเพาะเห็ดต้องเป็นขอนไม้ที่ตัดจากต้นไม้ดิบหรือตัดไว้ไม่เกิน 10 วัน เพราะเชื้อเห็ดเดินได้ดีกว่า
        2. ตัดท่อนไม้ให้ได้ความยาวสัก เมตรครึ่ง หน้ากว้างประมาณสิบเซนติเมตร (ไม่ต้องเป๊ะตามนี้ก็ได้นะจ๊ะ)
        3. นำสว่านมาเจะรู ขนาดเท่ากับหัวแม่มือ เจาะลึก ประมาณ 1 ½ นิ้ว แต่ละรูห่างกัน 1 คืบ เจาะรูให้สลับกัน
        4. นำเชื้อเห็ดมาเพาะลงในขอนไม้ (เจาะรู) แล้วปิดรูด้วยปูนซีเมนต์ เชื้อเห็ด 1 ถุง เพาะในขอนไม้ได้ 10 ท่อน
        5. วางขอนไม้ที่ใส่เชื้อเห็ดมาวางเรียงไขว้สลับกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
        6. พลางแสงโดยใช้ตาข่ายพลางแสงสีดำ
        7. ทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือน จึงนำขอนไม้ที่เพาะเห็ดลงแช่น้ำ จนหมดฟองอากาศ แล้วนำมาเรียงกันไว้เหมือนเดิม 1 กอง ต่อ 10 ท่อน
        8. หากเชื้อเห็ด เดินทั่วขอนไม้ จะพบว่ามีเชื้อราสีเขียวเกิดขึ้น
        9. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้วให้นำขอนไม้ไปแช่น้ำ เรียงไว้เหมือนเดิม แล้วคุมด้วยพลาสติกใสเพื่อให้อุณหภูมิพอเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ด ถ้าหากฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ

ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว

        การเก็บเกี่ยวขอนเห็ด 1 ท่อนจะเก็บดอกเห็ดได้เฉลี่ย 1 กิโลกรัม ขอนไม้เพาะเห็ด 1 รุ่น จะอยู่ได้ประมาณ 2 – 3 ปี ช่วงที่เห็ดออกดอกจะเก็บทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง (คงแล้วแต่ละทีด้วยนา)

ข้อควรระวัง

       ไม่ควรจับหรือแตะดอกเห็ดที่ไม่ต้องการ เพราะจะทำให้ดอกเห็ดชะงักการ เจริญเติบโต





วิธีการส่องไข่มีเชื้อ

 วิธีการส่องไข่มีเชื้อ

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการส่องเชื้อไข่

1.ตู้ฟักไข่
2.ไฟฉาย LED
3.ห้องมืด หรืส่องเวลากลางคืน
      ในการส่องไข่ทุกครั้ง แนะนำให้ส่องในที่มืด หรือส่องในเวลากลางคืน เพื่อให้สามารถเห็นตัวอ่อนและเส้นเลือดได้ง่าย เมื่อส่องเสร็จควรรีบนำกลับเข้าตู้ฟักทันที เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื่นน้อยที่สุด
      ไข่เชื่อตายและไข่ไม่มีเชื้อ ควรทำการคัดออกทันทีห้ามนำไปฟักต่อจะไม่เกิดประโยชน์ อีกทั้งทำให้อากาศภายในตู้เหม็นเนื่องจากไข่เน่า จะทำการส่องไข่ในวันที่ 7,14 และ 18 ของการฟัก

การส่องไข่เมื่อครบ 7 วัน 

       1.ไข่มีเชื้อ 

       เมื่อส่องจะเห็นลักษณะเป็นร่างแหเส้นเลือดแดง ตรงกลางเป็นจุดตัวอ่อนมีการเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นว่าตัวอ่อนมีการเจริญเติบโต และแข็งแรงสมบูรณ์ดี

       2.ไข่เชื้อตาย 

       จะมีสีซีด เห็นเป็นวงแหวน ไม่มีร่างแห มีจุดดำติดที่เปลือกไข่

      3.ไข่ไม่มีเชื้อ

       เมื่อส่องจะมีลักษณะเห็นเป็นสีใส ไม่มีร่างแหเส้นเลือดแดง














ปัจจัยหลักของการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่

ปัจจัยหลักของการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่


1. การไหลเวียนของอากาศ
ในขณะที่ตู้ทำงานจะต้องมีการไหลเวียนของอากาศด้วยความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 7 - 8 ฟุตต่อวินาที ภายในตู้ตลอดเวลา และจะต้องครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ภายในตู้ ขณะเดียวกันตัวตู้ฟักจะต้องมีการถ่ายเทอากาศ โดยรับออกซิเจน จากภายนอกตู้เข้าสู่ภายใน พร้อมทั้งผสมอากาศที่รับมาใหม่เข้ากับอากาศที่มีอยู่เดิม และขับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่ภายนอกตัวตู้ฟักอย่างมีระบบ สม่ำเสมอ และมีปริมาณที่เหมาะสม อุปกรณ์หลักที่จะทำหน้าที่นี้คือพัดลมไฟฟ้า และช่องดูด ช่องระบายอากาศ
2. อุณหภูมิภายใน
อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการฟักไข่อยู่ที่ระดับ 37.8 องศาเซลเซียส สำหรับการฟัก และ 36.7 องศาเซลเซียส สำหรับการเกิด อุณหภูมิภายในตู้ฟักไข่จะต้องกระจายอย่างทั่วถึง และสม่ำเสมอ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในระบบนี้คือ ชุดควบคุมการทำความร้อน หรือที่เราเรียกกันว่า เทอร์โมสตัท และตัวทำความร้อน หรือฮีทเตอร์ ซึ่งตัวทำความร้อนนั้นจะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของตู้ฟักด้วย ไม่เช่นนั้นจะทำให้อุณหภูมิที่ได้มีความคลาดเคลื่อน
** ขนาดของตัวทำความร้อนต่อปริมาตรภายในของตู้ ควรมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 249 ถึง 299 วัตต์ต่อลูกบาศก์เมตร **
3. ความชื้นสัมพัทธ์
3.1 สำหรับการฟัก ความชื้นที่เหมาะสมจะอยู่ที่ระดับ 58 - 60%
3.2 สำหรับการเกิด ความชื้นที่เหมาะสมอยู่ที่ระดับ 60 - 63%
ความชื้นภายในตู้ จะต้องกระจายอย่างทั่วถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดความชื้นคือถาดน้ำและการควบคุมระดับความชื้นสามารถปรับได้ด้วยช่องดูด - ช่องระบายอากาศ
- ถ้าปริมาณน้ำในตู้มาก ความชื้นจะสูงขึ้น ถ้าปริมาณน้ำน้อยความชื้นจะลดลง โดยความชื้นจะแปรผันตามปริมาณน้ำและอุณหภูมิแต่จะแปรผกผันกับปริมาณอากาศเข้า-ออก
- ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นจะเพิ่มขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดความชื้นจะลดลงตามไปด้วย ถ้าอากาศเข้า - ออกน้อย ความชื้นจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอากาศเข้า - ออกมาก ความชื้นจะปรับตัวลดลง
4. การกลับไข่
ไข่ไก่ที่ฟักตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 18 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการกลับไข่หรือพลิกไข่ ทุก ๆ 1 - 2 ชั่วโมง อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 7 ครั้ง เพื่อให้กระบวนการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ เนื้อเยื่อไม่ติดที่ผนังไข่ และทำให้ใกล้เคียงกับการฟักตามธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในวันที่ 18 ถึงวันที่ 21 ต้องนำไข่ฟักไว้ในถาดเกิด ช่วงระยะเวลานี้จะไม่มีการกลับไข่ เนื่องจากตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นช่วงที่ตัวอ่อนต้องการความนิ่งในการหาตำแหน่งเพื่อเจาะเปลือกไข่ โดยใช้กำลังจากเล็บเท้ารวมถึงปลายปากเจาะเปลือกไข่ แล้วจึงดันตัวออกจากเปลือกไข่ โดยตู้ฟักที่ดี ควรจะมีการพลิกไข่แบบอัตโนมัติ

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กุ้งก้ามแดงในนาข้าว

วิธีเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบอินทรีย์ในนาข้าว


การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบอินทรีย์ในนาข้าว เป็นวิธีการเลี้ยงแบบลดต้นทุน และสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงเป็นอย่างดี มีขั้นตอนดังนี้
1. ก่อนปลูกข้าวให้ทำการปรับพื้นที่ในนาข้าวให้มีความลึกขนาด/ประมาณ 80 เซนติเมตร
2. ซึ่งการทำแปลงนาจะสูงแตกต่างกันเป็นลำดับขั้น เช่น 60-70-80-90 เซนติเมตร จะง่ายต่อการไล่ระดับน้ำออกจากแต่ละบ่อ
3. เมื่อปรับพื้นที่ในนาข้าวได้ตามขนาดแล้ว ให้ทำการหว่านหรือปักดำนาข้าวได้ทันที
4. หลังจากที่ทำการหว่านและปักดำนาข้าวแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ ให้นำกุ้งปล่อยลงในนาข้าวได้เลย
5. พื้นที่นาข้าวขนาด 1 ไร่ ปล่อยกุ้ง 20,000 ตัว ขนาดกุ้งที่ปล่อยประมาณ 2 เซนติเมตร
6. เมื่อปล่อยกุ้งลงนาข้าวแล้วในทุกๆ สัปดาห์จะมีการเติมน้ำลงไปจนเต็มเพื่อไล่น้ำที่เน่าเสียออกไป
สูตรอาหารเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
วัตถุดิบ
- รำละเอียด 1 กิโลกรัม
- ปลาป่น 2 ขีด
- น้ำมันพืช 1 ขวด
- กะละมังสำหรับผสมอาหาร 1 ใบ
วิธีทำ : นำส่วนผสมเทลงในกะละมังสำหรับผสมอาหาร จากนั้นคลุกเคล้าวัตถุดิบทั้งหมดเข้าหากันแล้วปั้นเป็นก้อน หรือถ้ามีเครื่องอัดเม็ดก็สามารถนำไปอัดเม็ดได้เช่นกัน ก็จะได้อาหารสำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
การนำไปใช้: นำอาหารกุ้งก้ามกรามที่ผสมได้ ให้กุ้งกินในช่วงเวลาเช้าและเวลาเย็น
ประโยชน์ : สูตรอาหารกุ้งก้ามกรามจะช่วยให้กุ้งก้ามกรามเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และช่วยลดต้นทุนค่าอาหารได้เป็นอย่างดี
สูตรน้ำหมักปรับสภาพน้ำเพื่อป้องกันโรคในกุ้ง
วัตถุดิบ
- สารเร่ง พ.ด.2 1 ซอง
- ซากปลา ซากหอย 3 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 1 ลิตร
- น้ำ 2 ลิตร
- ถังพลาสติกสำหรับหมัก 1 ใบ
วิธีทำ : นำส่วนผสมเทลงในถังสำหรับหมัก คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นปิดฝาหมักทิ้งไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก็จะได้น้ำหมักปรับสภาพน้ำเพื่อป้องกันโรคในกุ้งก้ามกราม
การนำไปใช้ : นำน้ำหมักที่ได้ไปสาดลงแปลงนาหรือบ่อกุ้งก้ามกรามเท่าๆ กัน โดยใช้ในอัตรา 10 ลิตรต่อ 1 ไร่ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ประโยชน์ : ช่วยปรับสภาพน้ำและป้องกันโรคให้กับกุ้งก้ามกราม หลังจากปล่อยกุ้งก้ามกรามลงในนาข้าวได้ 3 เดือน ความเจริญเติบโตจะอยู่ที่ 3 กรัมต่อ 1 ตัว

 




การเลี้ยงกุ้งลอบสเตอร์ กุ้งก้ามแดง เครฟิช

การเลี้ยงกุ้งลอบสเตอร์ กุ้งก้ามแดง เครฟิช 

 กุ้งเครฟิชคืออะไร

         กุ้งเครฟิช หมายถึงกุ้งมังกรหรือล็อบเตอร์น้ำจืด ( Fresh–water lobster ) เป็นคนละชนิดกับกุ้งมังกรหรือ ล็อบเตอร์น้ำเค็ม
         เครฟิช จะมีเปลือกหนาเป็นชุดเกราะคลุมส่วนหัว-อกและลำตัว ส่วนขา  มี 2 ประเภทคือขาเดินและขาว่ายน้ำ สำหรับขาเดินจะมี 5 คู่ด้วยกัน ขาเดินคู่แรกสุดเป็นก้ามที่แข็งแรงใหญ่ไว้ป้องกันตัวและต่อสู้  ส่วนขาว่ายน้ำนั้นจะเป็นแผ่นแบนๆ

ถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ

         กุ้งเครฟิช มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเซียตะวันออก และออสเตรเลีย ปัจจุบันมีการค้นพบมากกว่า500 ชนิดแล้ว โดยมากกว่าครึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ในธรรมชาติกุ้งเครฟิชจะอาศัยอยู่ตามโขดหินหรือใต้ขอนไม้อยู่ในทั้งลำธาร หนองน้ำ และทะเลสาป
          กุ้งเครฟิชในโลก แบ่งออกเป็นหลายตระกูล ( Genus)  แต่ในที่นี้เราจะขอจำแนกกลุ่มของเครฟิชที่มีในบ้านเราออกเป็น  3 สาย  เพื่อจะได้เข้าใจง่าย ดังนี้
          สายที่ 1 คือ Procambarus.  บ้านเรานิยมเรียกกุ้งสาย พี.  ที่ฟาร์มเรียก กุ้งก้ามหนาม แม่ค้าเรียกกุ้งสี  ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและยุโรป
          สายที่ 2 คือ Cherax. บ้านเรานิยมเรียกกุ้งสาย ซี. หรือกุ้งก้ามเรียบ ที่ฟาร์มเรียก กุ้งป่า เพราะส่วนมากจับมาและมีถิ่นกำเนิดในโซน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย
          สายที่ 3 คือ Cambarellus.  บ้านเราเรียกกุ้งเครแคระ  เพราะมีขนาดเล็ก 3-4 ซม.

หลักการเลี้ยงกุ้งเครฟิช

           กุ้งเครฟิชมีหลักการเลี้ยงที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งก็คือดัดแปลงมาจากอุปนิสัยและการอยู่อาศัยของมันเองคือ
           1.โดยธรรมชาติ กุ้งทุกชนิดชอบออกหากินในเวลาคืน ไม่ชอบแสง ดังนั้นกลางวันอาจจะนอนหรือหลบทั้งวัน  จึงต้องการที่หลบซ่อนและปิดบังจุดที่กุ้งจะปีนหลบหนีได้  ยกเว้นกุ้งที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในบ้านเราจะคุ้นเคยกับการเลี้ยงและฝึก อาหาร
           2.มีก้ามเป็นอาวุธไว้ต่อสู้ป้องกันตัวเอง กุ้งตัวผู้จะมีขนาดของก้ามที่ใหญ่โตสง่างาม  สีสรรสวยงามและแข็งแรงกว่ากุ้งตัวเมีย
           3. กุ้งอ่อนแอที่สุดเวลาลอกคราบ  มักจะถูกรุมทำร้ายหรือจับกิน  ดังนั้นอาหารต้องพอเพียง  ตู้ต้องกว้างเพียงพอและมีที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย
           4.กุ้งแยกกันกินแยกกันอยู่หรืออาจจับคู่ในระยะสั้นๆ จึงไม่ควรเลี้ยงปนกันหลายตัวในที่แคบๆ ส่วนมากจะกุ้งจะไม่จำว่าเป็นคู่ของมัน ถ้าหิวหรือลอกคราบอาจทำร้ายกันได้เสมอ          

ตู้เลี้ยงและอ่างเลี้ยงกุ้ง

           1.เราสามารถเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในภาชนะใดๆก็ได้ ที่มีการถ่ายเทน้ำที่ดี  ไม่ร้อนเกินไป อุณหภูมิน้ำ ประมาณ  23 -28 องศา  อาจจะเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำก็ได้  น้ำครึ่งตู้ น้ำเต็มตู้ก็ได้ หากจะเลี้ยงหลายๆตัวแต่ต้องกว้างขวางเพียงพอ  กุ้งใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว 1 ตัว ใช้พื้นที่อย่างน้อย 1  ฟุต
           2.ถ้าจะเลี้ยงหลายตัวควรเลือกเลี้ยงกุ้ง สายเดียวกัน ไซซ์ไล่เลียกัน เพื่อให้มันสามารถปกป้องตัวเองได้  มิเช่นนั้นกุ้งตัวเล็ก มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกจับกิน
           3.ที่หลบซ่อนใช้ขอนไม้ กระถางดินเผา กระถางต้นไม้แตกๆ อุปกรณ์ที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆให้กุ้งหลบอาศัยในเวลากลางวัน กุ้งใหญ่  
          4.ปิดฝาหรือจุดที่กุ้งจะปีนหนีได้

วัสดุปูรองพื้น

           การเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในตู้ เพื่อความสวยงามควรปูหินกรวดเล็ก รองพื้นตู้ ซึ่งมีมีประโยขน์ต่อกุ้งหลายประการคือ
          1.ทำให้กุ้ง ไม่ตื่นตกใจ และมีสรรสวยงามมากขึ้น กุ้งสามารถปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าเน้นหินสีดำหรือน้ำตาล จะทำให้กุ้งมีสีเข้มขึ้น
          2.กุ้งป่า ส่วนมากจะขุด กรวดหิน เป็นที่หลบซ่อน
          3.หินกรวดช่วยดูดซับตะกอนและเศษอาหาร  ทำให้น้ำในตู้ใสอยู่เสมอ

การให้อากาศและระบบกรองน้ำ

          ถ้าเราเลี้ยงกุ้งแค่ตัวเดียว  และมีพื้นที่กว้างและดูแลน้ำได้ดี  ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องให้อากาศก็ได้
         แต่ในระบบตู้เลี้ยง ซึ่งเน้นความสวยงาม  และเลี้ยงกุ้งหลายตัว หรือ กั้นตู้  การให้อากาศยังจำเป้นอยู่มาก  แต่กุ้งใช้อากาศน้อยกว่าปลา  สามารถใช้หัวทรายจุ่มลงในน้ำ  3-4 นิ้ว กันฟุ้ง  หรือใช้กรองในตู้  กรองแขวน กรองกล่องได้  ยกเว้นกรองแผ่นพื้นจะโดนกุ้งขุด และกรองฟองน้ำอาจโดนกุ้งแทะเล่น

น้ำ

          อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงCrayfish คือช่วง 23-28 องศาเซลเซียล ค่าPHที่เหมาะสมคือประมาณ PH7.5 - 8.5ที่มีความกระด้างสูง ผู้เลี้ยงสามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้เล็กน้อย เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผู้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ  สัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 30 -50 %ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงและการให้อาหาร  แต่ควรปรับอุณหภูมิน้ำให้ดี

อาหารการกิน

         กุ้งเครฟิช  กินอาหารได้แทบทุกชนิด นิสัยของกุ้งจะกินอาหารได้ทั้งวัน แต่ในธรรมชาติมันจะกินอาหารประเภทพืชผัก รากไม้ ใบไม้ ผลไม้เป็นหลัก ในที่ เลี้ยงผู้เลี้ยงสามารถให้ ข้าวโพด มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ฟักทอง แอปเปิ้ลได้ พรรณไม้น้ำที่ใช้ตกแต่งตู้อาจโดนรื้อทึ้งเป็นอาหารได้  อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อ ไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อกุ้งทะเลหรือกุ้งฝอยหั่นชิ้นเล็กๆได้ ถ้าให้ง่ายยิ่งไปกว่านั้นอาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมสูตรต่างๆ

การเลี้ยงรวมกับปลาสวยงาม

          ถึงแม้ว่าในธรรมชาตินั้นCrayfish จะเก็บเศษซากพืชซากสัตว์กินเป็นอาหารหลัก แต่ในที่เลี้ยงสถานที่ที่มีอาหารอย่างจำกัดนั้น มันจะจับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กินเป็นอาหาร โดยเฉพาะกุ้งขนาด  1.5 – 2.5 นิ้ว มักจะชอบไล่จับปลากิน ส่วนกุ้งขนาดใหญ่ นิสัยนักล่ามันจะลดลง  หากต้องการเลี้ยงปลากับกุ้งด้วยกันให้ยึดหลักดังนี้
         1.ขนาดตู้ ต้องกว้างเพียงพออย่างน้อย 24 นิ้ว น้ำลึกอย่างน้อย 1 ฟุต
         2.เลือกชนิดปลาขนาดเล็กที่ว่ายน้ำเร็ว  หรือหากินกลางน้ำ ปลาที่ว่ายน้ำช้า ปลาที่มีครีบยาวๆ ปลาที่มีนิสัยนอนพื้นตู้ ไม่ควรเลี้ยงเด็ดขาด
         3.ปลาเทศบาล ที่เลี้ยงได้เช่น ปลาซัคเกอร์ น้ำผึ้ง ปลาจิ้งจก

วิธีการเลือกซื้อ Crayfish

         1.เลือกกุ้งที่มีอวัยวะสำคัญต่างๆครบสมบูรณ์คือ ดวงตาและก้ามครบ2 ข้าง ขาเดินครบทั้ง4 คู่
         2.มีเปลือกลำตัวแข็ง ไม่อยู่ในช่วงระยะลอกคราบ ซึ่งร่างกายอ่อนแอ
         3.เลือกกุ้งที่แข็งแรง มีอาการตอบสนองป้องกันตัวเมื่อถูกรบกวน เช่น การยกก้ามคู่ป้องกันตัวเอง หลบหนีด้วยการดีดลำตัวอย่างว่องไวหรือ พยายามปีนป่ายหนีเมื่อนำมาใส่ภาชนะ
          4.เลือกซื้อกุ้งคุณภาพจากร้านและฟาร์มที่ท่านไว้ใจ และสังเกตจากสภาพน้ำและภาชนะที่วางขาย
         5.กรณีที่เป็นกุ้งนำเข้าจากต่างประเทศ  ควรได้รับการปรับสภาพ พักและเปลี่ยนถ่ายน้ำแล้วอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป ( หายาก )

 


ที่มา http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=54128.0

การเลี้ยงกุ้งฝอย

กุ้งฝอย และการเลี้ยงกุ้งฝอย


        กุ้งฝอย เป็นกุ้งขนาดเล็กที่พบทั่วไปในแหล่งน้ำจืด ซึ่งนิยมนำมาประกอบอาหาร ทั้ง น้ำพริกกุ้ง และก้อยกุ้ง รวมถึงแปรรูปเป็นกะปิ และกุ้งแห้งเป็นต้น

        กุ้งฝอยที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะจับได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องในปัจจุบัน ทำให้ราคากุ้งฝอยพุ่งสูงกว่ากิโลกรัมละ 150-300 บาท เลยทีเดียว

ลักษณะทั่วไป
        เปลือกคลุมหัวค่อนข้างบาง มีหนามแหลมยื่น 2 อัน หัวประกอบด้วยกรีด้านบนที่มีฟันหยัก 4-7 ซี่ และกรีด้านล่างที่มีฟันหยัก 1-2 ซี่ ส่วนตามี 2 ข้าง มีก้านตาติดกับกรี ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง 6 ปล้อง เปลือกหุ้มลำตัวมีลักษณะใสมองเห็นเนื้อด้านในลำตัวยาวได้มากถึง 6 ซม. ขาเดินมีทั้งหมด 5 คู่ คู่ที่ 1 และคู่ที่ 2 เปลี่ยนเป็นกล้ามหนีบ กล้ามหนีบของขาคู่ที่ 2 มีขนาดใหญ่ และยาวกว่ากล้ามหนีบคู่ที่ 1 คู่ที่ 3,4 และ5 ใช้เป็นขาเดิน แต่ละขามีปล้อง 7 ปล้อง และปล้องส่วนปลายมีลักษณะเรียวแหลมและมีความยาวใกล้เคียงกัน ถัดมาเป็นขาว่ายน้ำ มีทั้งหมด 5 คู่ อยู่บริเวณใต้ลำตัวที่แต่ละปล้องมีขาว่ายน้ำ 1 คู่ แยกออกเป็น 2 แผ่น

การดำรงชีพ
        แหล่งอาศัย
        กุ้งฝอยพบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำห้วย และพบได้ในแหล่งน้ำนิ่ง เช่น บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ บึง เป็นต้น พบอาศัยมากบริเวณน้ำตื้นใกล้ริมตลิ่ง ความลึกประมาณ 0.5-1 เมตร โดยในเวลากลางวันจะว่ายน้ำลงลึกหรือหลบซ่อนตัวใต้ก้อนหินใต้น้ำ หรือใต้พืชน้ำ ส่วนเวลากลางคืนจะว่ายขึ้นมาอาหารบริเวณริมตลิ่ง และโดยธรรมชาติจะชอบหลบอาศัยบริเวณที่มีแหล่งพืชน้ำบริเวณน้ำตื้น

        เพศกุ้งฝอย
        กุ้งฝอยฝอยตัวเต็มวัยจะสามารถแยกเพศได้ง่าย โดยกุ้งฝอยเพศเมียจะมีส่วนอวัยวะเพศใต้ท้องมีสีเขียว ส่วนกุ้งฝอยเพศผู้ เปลือกที่หัวจะมีสีขุ่นออกเหลือง และเพศผู้จะมีติ่งยื่นออกมาจากขาว่ายน้ำคู่ที่ 2 ส่วนขนาดลำตัวจะพบเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้

        อาหาร และการหาอาหาร
อาหารสำคัญของกุ้งฝอย ได้แก่ ไดอะตอม และตัวอ่อนของแมลงในน้ำ รวมถึงซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย โดยจะชอบออกหาอาหารในช่วงกลางคืนเป็นหลัก

        การวางไข่ และเจริญเติบโต
        กุ้งฝอยจะผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยแม่กุ้งฝอย 1 ตัว จะออกไข่ประมาณ 60-80 ฟอง เมื่อกุ้งฝอยวางไข่ ไข่กุ้งฝอยจะใช้เวลาในการฟักประมาณ 18-20 หลังวางไข่ และตัวอ่อนกุ้งฝอยจะใช้เวลาในพัฒนาอวัยวะให้เหมือนกุ้งฝอยตัวเต็มวัยประมาณ 30-35 หลังฟักออกจากไข่ และมีการลอกคราบเป็นระยะตลอดระยะการเติบโต โดยจะลอกคราบครั้งแรกเมื่อมีอายุ 2 วัน

ประโยชน์ของกุ้งฝอย
        1. กุ้งฝอยนำมาทำก้อยกุ้งทั้งสุก และดิบ แต่แนะนำทำสุกจะปลอดภัยกว่า แต่บางท่านนิยมรับประทานก้อยกุ้งดิบ เพราะให้รสอร่อยของเนื้อกุ้งดิบ
        2. กุ้งฝอยนำมาประกอบอาหารอื่นๆ เช่น กุ้งฝอยชุบแป้งทอด น้ำพริกกุ้งฝอย เป็นต้น
        3. กุ้งฝอยนำมาแปรรูปเป็นกุ้งแห้งใช้สำหรับใส่ส้มตำ
        4. บ่อสูง 0.7 เมตร กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร
        คุณค่าทางโภชนาการของกุ้งฝอย
         - พลังงาน 78 แคลอรี่
         - โปรตีน 15.8 กรัม
         - คาร์โบไฮเดรต 1.0 กรัม
         - ไขมัน 1.2 กรัม
         - แคลเซียม 9.2 กรัม
         - ฟอสฟอรัส 2.69 กรัม
         - เหล็ก 0.08 กรัม
         - ความชื้น 78.7 กรัม



การเลี้ยงกุ้งฝอย
การเลี้ยงกุ้งฝอยในปัจจุบันมี 3 ลักษณะ คือ

        1. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
        การเลี้ยงกุ้งในบ่อซีเมนต์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย ด้วยการสร้างบ่อก่ออิฐในขนาดต่างๆตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บ่อสูง 0.7 เมตร กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร หรือ บ่อสูง 1 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5-10 เมตร เป็นต้น อัตราการปล่อยแม่กุ้งฝอยที่มีไข่ที่ 50 ตัว/น้ำ 200 ลิตร เมื่อแม่กุ้งเขี่ยไข่ออกแล้วให้รีบจับแม่กุ้งออกทันที เพราะแม่กุ้งจะกินตัวอ่อนของตัวเอง หรืออาจใช้วิธีปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงเลี้ยงร่วมกัน อัตราการปล่อยที่ เพศผู้ 1 ส่วน เพศเมีย 2 ส่วน นอกจากการใช้บ่อซีเมนต์แบบก่ออิฐแล้ว ปัจจุบัน ยังนิยมใช้บ่อซีเมนต์ทรงกลมสำเร็จรูปสำหรับใช้เลี้ยง ซึ่งวิธีนี้จะประหยัดต้นทุนมาก และง่ายในการรื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย

        การจัดการในบ่อซีเมนต์ หากเป็นบ่อก่อใหม่หรือซื้อมาใหม่ ให้ใส่น้ำขังไว้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วถ่ายออกเพื่อลดความเป็นด่างจากปูน หลังการปล่อยกุ้ง ควรนำพืชน้ำ เช่น จอก หรือ ผักตบชวา ใส่ในบ่อพอประมาณ เพื่อเป็นที่หลบแดดให้แก่กุ้ง และควรมีการถ่ายเทน้ำเป็นระยะ อาหารของกุ้งวัยอ่อนอายุ 1-20 วัน หากเป็นอาหารที่ให้จะใช้ไข่แดงต้มบดผ่านผ้าขาว และไรแดง ร่วมกับการสร้างอาหารให้เกิดเองตามธรรมชาติ ด้วยการหว่านปุ๋ยคอก เช่น มูลโค หรือ มูลไก่ อัตรา 1 กำมือ/น้ำ 200 ลิตร ซึ่งจะทำให้เกิดแพลงก์ตอนพืชขึ้นมา ส่วนอาหารสำหรับกุ้งช่วงวัยรุ่น-ตัวเต็มวัยจะเริ่มให้ตั้งแต่หลังอายุ 20 วัน โดยให้พวกเนื้อปลาสับ และรำละเอียด ร่วมด้วยกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป


        2. การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชัง
        การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชัง มักใช้เลี้ยงในบ่อดินที่เลี้ยงปลาต่างๆ เพราะจะเป็นรายได้เสริมจากการเลี้ยงปลา โดยใช้กระชังแบบอยู่กับที่ที่มีผ้าเขียวกั้น อัตราการปล่อยเพศผู้ต่อเพศเมียที่ 1:2 การให้อาหาร จะให้แบบเดียวกับการเลี้ยงกุ้งในบ่อซีเมนต์ ดังที่กล่าวข้างต้น



        3. การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน
        การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน มักเลี้ยงในบ่อขนาดเล็ก เนื่องจากบ่อขนาดใหญ่ เกษตรกรมักใช้เลี้ยงปลาจะมีรายได้มากกว่า ขนาดบ่อทั่วไปมักไม่เกิน 400 ตารางเมตร (20×20 เมตร) บ่อลึก 0.8-1 เมตร
ก่อนปล่อยกุ้งจำเป็นต้องสูบน้ำ และจับปลาทุกชนิดออกให้หมดก่อน โดยเฉพาะปลากินเนื้อต่างๆ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ เป็นต้น หลังจากนั้น ปล่อยน้ำเข้าบ่อให้สูงประมาณ 30 ซม. พร้อมหว่านด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 30-50 กิโลกรัม/บ่อ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ จนน้ำเริ่มเขียว จากนั้น ค่อยปล่อยน้ำเข้าเต็มบ่ออัตราการปล่อยกุ้งที่ 2-4 กิโลกรัม/บ่อ หลังจากการปล่อย ให้หาพืชน้ำใส่บริเวณริมตลิ่งเล็กน้อยเพื่อสำหรับให้กุ้งหลบอาศัย ส่วนการให้อาหาร จะให้แบบเดียวกับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์


การจับกุ้งฝอย
        กุ้งฝอยจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน ก็สามารถจับจำหน่ายได้ ซึ่งจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3-4 ซม. ทั้งนี้ มีการศึกษาทดลองเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน ขนาด 400 ตารางเมตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน ด้วยการให้อาหารปลาป่น และรำละเอียด อัตรา 1:5 สามารถจับกุ้งฝอยได้น้ำหนักกว่า 9.4 กิโลกรัม/บ่อ








ที่มา http://pasusat.com/